o(>///<)o εїз ’๏ ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ นู๋ ปลา จร้า ๏‘ εїз o(>///<)o

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วัตถุประสงค์

.......เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสานสนเทศได้
2. อธิบายความสันพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
3. ยกตัวย่างเทคโนโลยีสารสนเทศได้และการสื่อสารในชีวิตจริงได้
4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
5. อธิบายความสันพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
6. บอกความหมายและองประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้
7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟแวร์แต่ละประเภทได้
9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเทอร์เนตได้
10. บอกความสันพันธ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได






คำอธิบายรายวิชา

......ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ
สาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกร๊คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวอร์ค
ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึง
สารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ฃและการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้
อมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสานสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้

ข้อ 1. ศึกษาความหมาย ของคำว่า ความซื่อสัตย์ตอบ ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า ซื่อ ว่าหมายถึง ตรง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ไม่คดโกง ส่วนคำว่า ซื่อตรง หมายถึง ความประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่คดโกง และ ซื่อสัตย์ หมายถึง ความประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกหลวง หรือเราอาจจะพูดง่ายๆว่าคนที่ซื่อสัตย์ ก็คือ คนที่เป็นคนตรง ประพฤติสิ่งใดก็ด้วยน้ำใสใจจริง ความซื่อสัตย์นั้นมีหลายอย่าง เช่น ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ความซื่อสัตย์ต่อครอบครัว ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ความซื่อสัตย์ต่อมิตร และความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เป็นต้น

ความซื่อสัตย์ เป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์ในระดับไหนก็ตาม จะต้องมีการปลูกฝังหรือสอนเยาวชนรุ่นหลังให้ประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะ หากคนในสังคมขาดคุณธรรมข้อนี้เมื่อใด สังคมก็จะวุ่นวาย ไม่สงบ คนจะเอารัดเอาเปรียบกัน และเห็นแก่ตัวมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย

คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช่เล่ห์กลทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง



2.วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ความหมายกับคำอื่นๆที่มีความหมายใกล้เคียงกัน

สุภาษิต คำพังเพย เกี่ยวกับ ความซื่อสัตย์

ปั้นน้ำเป็นตัว ฝากเนื้อไว้กับเสือ ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน เสียชีพอย่าเสียสัตย์ กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา คดในข้องอในกระดูก สิบแปดมงกุฎ ต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโก ปากว่าตาขยิบ


3.วิเคราะห์ ประโยชน์และคุณค่า ของความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์ของคนในครอบครัว

ข้าพเจ้าเคยได้ยินบทเพลง ๆหนึ่ง ที่ท่านคุณพ่อท่านเคยร้องขึ้นมาเปรย ๆ ในยามที่ท่านครุ่นคิดว่า " ความซื่อสัตย์ เป็นสมบัติของผู้ดี ลองลองซีทุกคนก็มีหัวใจ เกิดเป็นคนถ้าหากไม่เกรงใจใคร คนนั้นไซ้ไร้คุณธรรมประจำใจ"

โดยคุณพ่อท่านบอกว่าท่านชอบมาก คุณครูเคยสอนให้ร้อง ในสมัยที่ท่านเรียนหนังสืออยู่ในชั้นประถมศึกษา ท่านจำได้ดีมาจนทุกวันนี้ ท่านบอกว่า ท่านจำไว้เพื่อสอนลูกหลานของท่านให้เป็นคนดี
ความซื่อสัตย์คืออะไร
คำว่า "ซื่อสัตย์" มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ว่า "ซื่อตรงและจริงใจ หรือ ไม่คิดคดทรยศ หรือ ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง"
ครอบครัวต้องทำอย่างไร
หน้าที่หรือความรับผิดชอบของครอบครัว ที่จะต้องร่วมกันสร้างความซื่อสัตย์ให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นคือการสร้างจิตสำนึกขึ้นในตัวของบุคคลในครอบครัว โดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน โดยการทำตนเป็นคนซื่อสัตย์ต้นแบบ ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องทำตนเป็นต้นแบบหรือแม่พิมพ์แห่งความซื่อสัตย์ต่อครอบครัว ขณะเดียวกันผู้คนในครอบครัวต้องร่วมกันแสดงพลังแห่งการสนองตอบ บนพื้นฐานของจิตสำนึกขึ้นมา
นั่นคือการแสดงออกบนวิถีแห่งความซื่อสัตย์ต่อกันในทุกรณี จริงใจต่อพฤติกรรมที่แสดงออกต่อกัน บนพื้นฐานแห่งการรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ในเมื่อแต่ละครอบครัวสร้างจิตสำนึกของความซื่อสัตย์ให้เกิดขึ้นในจิตใจที่บริสุทธิ์แล้ว จิตสำนึกแห่งความซื่อสัตย์ย่อมต่อยอดออกไปสู่สังคมที่กว้างใหญ่โดยมิต้องสงสัย เพราะจิตสำนึกนั้นได้ฝังลึกลงไปในจิตใจของผู้คนในแต่ละครอบครัวแล้ว
ซื่อสัตย์คือสัตย์ซื่อ
ต้องยึดถือเป็นต้นหน
ซื่อสัตย์เกิดที่ตน
ในทุกคนจึงต้องมี
ซื่อสัตย์เริ่มที่บ้าน
ร่วมประสานเพื่อศักดิ์ศรี
ซื่อสัตย์คือความดี
บ้านเมืองนี้จะร่มเย็น
ซื่อสัตย์จะเกิดก่อ
ผลิแตกหน่อมาให้เห็น
ซื่อสัตย์ทำให้เป็น
อย่าทำเล่นจะเสียงาน
ซื่อสัตย์เถิดพี่น้อง
ไทยทั้งผองร่วมประสาน
ซื่อสัตย์เริ่มที่บ้าน
แผ่กิ่งก้านสร้าง


ข้อ 4. ศึกษาค้นคว้า พฤติกรรมความซื่อสัตย์จากสื่อ ICT โดยวิเคราะห์ให้ตรงกับความหมาย
จริยธรรม หมายถึง "หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ" ในการการใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกันในสังคม มีการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ รวมถึงกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดจริยธรรม
ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
1. การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย หรือก่อให้เกิดความรำราญ
2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
3. การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4. การละเมิดลิขสิทธิ์
5.รู้จักการใช้ ICTอย่างถูกต้อง ไม่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นไม่เข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
6.ไม่ใช้ICTทำร้ายผู้อื่น
http://thongin-srru.blogspot.com/2011/06/ict.html